
ในทุกๆปีผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องทำการต่อทะเบียนพ.ร.บ.รถยนต์ แถมยังต้องต่อประกันอีก เรียกได้ว่ามีแต่รายจ่ายที่จำเป็นรออยู่ในทุกๆปีทีเดียว ซึ่งหลายครั้งมักเกิดคำถามว่าพ.ร.บ.รถยนต์กับ ประกันรถยนต์ แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไรขึ้นมาซึ่งที่นี่มีคำตอบให้คุณครับ
ความหมายของพ.ร.บ. รถยนต์และประกันรถยนต์
คำว่า พ.ร.บ. นั้นย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกนั้น จะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกันว่า จะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันในพ.ร.บ. ซึ่งได้รับความคุ้มครองในเรื่องเงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในทุกรูปแบบได้อย่างทันทีทันใด
ซึ่งวงเงินคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจะได้รับนั้น มีการกำหนดความคุ้มครองในรูปแบบต่างๆไว้แล้วอย่างชัดเจน ซึ่งหากฝ่าฝืนไม่ทำ พ.ร.บ. นอกจากจะทำให้มีปัญหาในด้านการต่อภาษีรถแล้ว ยังเป็นการทำผิดกฎหมายแบบอีกด้วย
ในส่วนของ ประกันรถยนต์ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ เหล่านี้จะอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ประกันภาคสมัครใจนั่นเอง โดยเป็นการซื้อประกันเพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ได้รับตาม พ.ร.บ. ซึ่งหากให้พูดกันอย่างเข้าใจง่ายๆนั้น คือ ในกรณีที่เราเป็นต้นเหตุหรือเป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆ พ.ร.บ.จะช่วยคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้าความเสียหายมีมากเกินความครอบคลุมแล้ว ประกันภาคสมัครใจ จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในกรณีเหล่านี้แทนที่ผู้เอาประกันจะต้องเป็นคนชดใช้เองนั่นเองครับ
การทำประกันภัยรถยนต์ร่วมกับ พ.ร.บ.
เราสามารถเลือกทำประกันภาคสมัครใจได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยเบี้ยประกันของประกันภาคสมัครใจนั้น มีค่าบริการที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทของความคุ้มครองที่จะได้รับนั่นเอง
โดยถ้าหากว่าคุณต้องการที่จะทำประกันภาคสมัครใจร่วมกับการซื้อ พ.ร.บ. แล้วละก็ อาจจะเลือกซื้อจากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ เดียวกันได้เลย เพื่อให้สามารถดำเนินการต่าง ๆ ทั้งการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง การต่อสัญญาและอื่นๆ สามารถทำได้พร้อมกันด้วยความสะดวกและต่อเนื่องนั่นเอง และยังเป็นผลดีในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและคู่กรณีที่ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้สามารถจัดการเรื่องต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่าด้วยนั่นเอง
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำ ประกันรถยนต์ ร่วมกับการทำ พ.ร.บ. แต่ถ้าหากคำนึงถึงความคุ้มค่าและความครอบคลุมที่จะได้รับหากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นแล้ว ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่านั่นเองครับ